วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การทดลองปลูกแตงกวาอินทรีย์


การผลิตพืชอินทรีย์ เป็นระบบการผลิตพืชที่พื้นที่ที่ใช้ในการผลิตนั้นไม่มีสารพิษตกค้าง ไม่มีการใช้ปัจจัยการผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ พันธุ์พืชตัดแต่งพันธุกรรม เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติหมุนเวียนในไร่นา รวมถึงการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสดีต่อประเทศไทย เพราะว่ายังมีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี ทั้งปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในอัตราต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้มีศักยภาพในการผลิตพืชอินทรีย์ (สมคิด, 2548) แต่การขยายตัวของเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยเป็นไปค่อนข้างช้ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำการเกษตรที่ใช้สารเคมีการเกษตรแต่ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเกษตรอินทรีย์ที่ก้าวหน้า เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป และออสเตรเลีย ฯลฯ ทั้งๆ ที่ประเทศดังกล่าวน่าจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงเสียดทาน และต่อต้านการพัฒนาเกษตรอินทรีย์มากกว่าประเทศไทย เนื่องจากมีบริษัทที่ผลิตสารเคมีการเกษตร ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายอยู่ในประเทศต่างๆ ดังกล่าว สาเหตุที่เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้ามาก ส่วนหนึ่งเกิดจากตัวเกษตรกรเองที่เคยชินกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร ด้วยเกรงว่าหากจะผลิตแล้วผลผลิตอาจจะลดลงส่งผลให้รายได้ลดลง รวมทั้งการค้นคว้าวิจัยการเกษตรของประเทศไทยที่ผ่านมา ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของเทคโนโลยีการเกษตรแบบแยกส่วน เน้นการเพิ่มผลผลิตแบบใช้ปัจจัยที่ได้จากการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ (ชนวน, มมป.) เนื่องจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบอินทรีย์ในระยะแรก ผลผลิตของพืชจะลดลง การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเขตกรรม โดยศึกษาระยะปลูก และการจัดการต้นเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตของพืชได้ โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษก่อน หลังจากนั้นนำผลการทดลองที่ได้ผลดีไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่มีการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ โดยใช้วิธีการผลิตแตงกวาอินทรีย์ของเกษตรกรเป็นวิธีการเปรียบเทียบ เพื่อทดสอบหาวิธีที่เหมาะสม และจะได้นำเทคโนโลยีที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้สนใจต่อไป

การผลิตแตงกวาอินทรีย์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์แตงกวาลูกผสม ทำการทดลอง 2 ฤดูกาล คือ ในฤดูหนาวและฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2552 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี

ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2549 - 2550 ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 2 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 3 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 4 คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 5 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 6 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.3x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

วิธีที่ 7 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+2 ต้น/หลุม

วิธีที่ 8 ไม่คลุมแปลง+ระยะปลูก 0.5x0.8 ม.+1 ต้น/หลุม

ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 2552 ประกอบด้วยวิธีการ ดังนี้

วิธีที่ 1 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร (ระยะต้น x ระยะแถว) ปลูก 2 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีแนะนำ

วิธีที่ 2 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.50 x 0.75 เมตร ปลูก 3 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีเปรียบเทียบ

การปลูก จะปลูกแถวคู่ แบบหยอดเมล็ดในแปลง และไม่ทำค้าง

การเตรียมแปลงปลูก ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่

& ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 2 ตัน/ไร่ * พื้นที่แปลงขนาด 1x 10 เมตร ใช้ 12.5 กก.

& ปุ๋ยมูลค้างคาว อัตรา 100 กก./ไร่

& ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กก./ไร่

& หินภูเขาไฟ อัตรา 20 กก./ไร่

& เชื้อไตรโคเดอร์มา อัตรา 50 กรัม/หลุม

หลังปลูก 1 เดือน ใส่

& ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 1 ตัน/ไร่

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

- พ่นเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส เพื่อป้องกันโรคทางใบ

- พ่นเชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซิส เมื่อพบการระบาดของหนอน

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงกวาอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

วิธี

ปี 2549

ปี 2550

ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

วิธี 1

6.67

5.03 ab

10.20

10.09 a

8.43

7.56 a

วิธี 2

5.81

5.38 a

9.55

8.50 abc

7.68

6.94 a

วิธี 3

5.44

4.30 abc

8.89

9.55 ab

7.17

6.93 a

วิธี 4

6.02

3.30 bcd

9.94

6.32 cd

7.98

4.81 b

วิธี 5

5.33

3.50 bcd

8.10

5.34 cd

6.17

4.55 b

วิธี 6

4.96

1.67 d

7.62

5.44 cd

6.29

3.63 b

วิธี 7

5.13

2.80 cd

8.72

4.42 d

6.94

3.61 b

วิธี 8

5.60

2.94 cd

10.87

6.86 bcd

8.23

4.90 b

เฉลี่ย

5.619

3.616

9.24

7.12

7.43

5.37

F test

ns

**

ns

**

ns

**

CV %

18.00

26.50

17.20

21.50

14.8

16.9

ตัวอักษรที่แตกต่างกันในแต่ละคอลัมน์ แสดงความแตกต่างทางสถิติ โดยวิธี Duncan’s multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงกวาอินทรีย์ในฤดูหนาวที่ไร่เกษตรกร

ผลการทดลอง

ปี 2551

ปี 2552

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

ความกว้างของผล(ซม.)

3.40

3.39

3.23

3.25

ความยาวของผล(ซม.)

10.92

11.09

10.03

10.09

น้ำหนักของผล(กรัม)

91.89

91.52

69.43

70.73

น้ำหนักผลผลิต(ตัน/ไร่)

7.84

8.48

6.59

6.42

น้ำหนักผลที่ตกเกรด(ตัน)

2.49

2.13

0.33

0.25

น้ำหนักผลที่ได้มาตรฐาน(ตัน)

5.35

6.39

6.26

6.18

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงกวาอินทรีย์ในฤดูฝนที่ไร่เกษตรกร

ผลการทดลอง

ปี 2551

ปี 2552

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

ความกว้างของผล(ซม.)

3.29

3.26

3.53

3.53

ความยาวของผล(ซม.)

9.91

9.48

9.77

9.81

น้ำหนักของผล(กรัม)

70.55

67.43

75.74

72.1

น้ำหนักผลผลิต(ตัน/ไร่)

8.34

6.53

11.05

10.6

น้ำหนักผลที่ตกเกรด(ตัน)

0.31

0.36

0.92

0.97

น้ำหนักผลที่ได้มาตรฐาน(ตัน)

8.03

6.16

10.14

9.62

สรุปผลการทดลองการปลูกแตงกวาอินทรีย์

การคลุมแปลงด้วยฟางข้าว ให้ผลผลิตรวมทั้งหมดของแตงกวาสูงกว่าการไม่คลุมแปลงสถิติ และให้ผลผลิตที่ได้มาตรฐานสูงกว่าการไม่คลุมแปลง การคลุมแปลงด้วยฟางข้าวโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว จะช่วยรักษาความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี ส่วนในฤดูฝนการคลุมแปลงและไม่คลุมแปลงให้ผลผลิตแตงกวาไม่แตกต่าง แต่มีแนวโน้มว่า การคลุมแปลงให้ผลผลิตสูงกว่าไม่คลุมแปลงตามค่าเฉลี่ย ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน ไม่มีความจำเป็นต้องคลุมแปลงปลูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งค่าฟางข้าวและแรงงาน

จำนวนต้นต่อหลุม ในฤดูหนาว ระยะปลูกที่เท่ากัน การปลูก 2 ต้นต่อหลุม ให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูก 1 ต้นต่อหลุม สำหรับในช่วงฤดูฝน จำนวนต้นต่อหลุมไม่มีผลต่อผลผลิตของแตงกวา ดังนั้น การปลูกแตงกวาอินทรีย์ในช่วงฤดูฝน สามารถลดจำนวนต้นต่อหลุม เพื่อลดต้นทุนการผลิตของค่าเมล็ดพันธุ์

ระยะปลูก พบว่า ในจำนวนต้นที่เท่ากัน ทั้งคลุมแปลงและไม่คลุมแปลง และในทุกช่วงฤดูกาลผลิต การปลูกระยะระหว่างต้น 0.3 เมตร ให้ผลผลิตสูงกว่า ระยะระหว่างต้น 0.5 เมตร

การผลิตแตงกวาอินทรีย์ในไร่เกษตรกร ในฤดูหนาว ถ้าเกษตรกรไม่สามารถดูแลรักษาแปลง โดยเฉพาะการให้น้ำเพื่อรักษาความชื้นในดินได้เพียงพอ การปลูกแตงกวาในระยะชิดอาจไม่เหมาะสม แต่การปลูกวิธีแนะนำ โดยใช้ระยะปลูก 0.30 x 0.80 เมตร และปลูก 2 ต้นต่อหลุม มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูง ให้รายได้และผลตอบแทนต่อปีสูงที่สุด ในการผลิตแตงกวาอินทรีย์ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน เปอร์เซ็นต์โพแทสเซียมในรูปที่เป็นประโยชน์ และเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

ศึกษาการผลิตแตงกวาอินทรีย์ : กรณีศึกษาที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ลงเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202010/J.%20CRDC4/CRDC%204/PDF/357-360.pdf
ศึกษาการผลิตแตงกวาอินทรีย์ : กรณีศึกษาที่แปลงเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ลงเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202010/J.%20CRDC4/CRDC%204/PDF/353-356.pdf

จิรภา ออสติน

นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ผู้เขียน


วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ศักยภาพการให้ผลผลิตของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ


ภาพที่ 1 จะเห็น ศักยภาพการให้ผลผลิตของมะละกอแขกดำศรีสะเกษ ที่สวนเกษตรกร จะเห็นว่าผลดกมาก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา ต้นมีการเจริญเติบโตดี ลำต้นมีขนาดใหญ่มาก เป็นมะละกอที่ปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน 2552

เมื่อวันที่ 16 กรกฏาคม 2553 ได้ออกเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์หลังการทดสอบมันสำปะหล้งที่ไร่เกษตรกร อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เลยถือโอกาสไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรผู้ปลูกมะละกอแขกดำศรีสะเกษ ที่เคยเข้าร่วมโครงการนำร่องการปลูกมะละกอแขกดำศรีสะเกษแบบมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ เป็นผู้รับผิดชอบแผนการปฏิบัติงาน เมื่อปี 2550-2551 ในการดำเนินงานโครงการฯ ปี 2551 ได้มีการจัดฝึกอบรมการผลิตมะละกอแขกดำศรีสะเกษในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม ให้กับเกษตรกรผู้ประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้เกษตรกรสามารถปลูกมะละกอ ให้มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานด้วย

คุณธีระพงษ์ แก้วพวง เป็นผู้หนึ่งที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2551 เดิมคุณธีระพงษ์ปลูกมะละกอแขกนวล พริกและหอมแดงในพื้นที่ที่ทำโครงการ แต่ในปัจจุบันได้เลิกปลูกพริกและหอมแดง เพราะว่าต้องมีการใช้สารเคมีมาก แล้วนำพื้นที่นั้นปลูกมะละกอแขกดำศรีสะเกษเพียงอย่างเดียว ในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ผลผลิตที่ได้จะจำหน่ายในตลาดท้องถิ่น มีพ่อค้ามาซื้อที่สวนทั้งผลบริโภคดิบและผลบริโภคสุก โดยจำหน่ายในราคาเดียวกัน คือ 12 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรบอกว่าขายผลสำหรับบริโภคสุกกำไรดีกว่า แต่ก็ทนต่อราคาที่เร้าใจไม่ไหวในบางช่วงที่ราคาซื้อผลดิบถึงสวน 18 - 20 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งรุ่นนี้เก็บผลผลิตสำหรับบริโภคดิบจำหน่ายไปแล้ว 600 กิโลกรัม ถ้าใครเคยดูรายการก้าวไกลกับกรมวิชาการเกษตรที่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์

http://it.doa.go.th/doatv/index.php?option=com_jmultimedia&view=media&layout=default&id=9

ได้มีการสัมภาษณ์คุณธีระพงษ์เกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการฯ ที่สวนมะละกอ ในช่วงสุดท้ายที่พิธีกรกล่าวปิดรายการ ถ้าสังเกตุต้นมะละกอที่อยู่ด้านหลัง จะเห็นว่าต้นมะละกอไม่ค่อยจะเจริญเติบโตดีนัก เนื่องจากขาดการบำรุงรักษา วันนั้นจึงได้แนะนำการปลูกและการดูแลมะละกอให้แก่คุณธีระพงษ์ เวลาผ่านไป 2 ปี พบว่า คุณธีระพงษ์มีพัฒนาการในการปลูกและดูแลมะละกอดีขึ้น มีการบำรุงต้นอย่างดี ส่วนหนึ่งอาจเกิดจาก ได้หันมาเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน เป็นอาชีพเสริม (มีแนวโน้มว่าต่อไปจะกลายเป็นอาชีพหลักในอนาคต) โดยทุกเดือนจะนำวัสดุที่ใช้แล้วจากการเพาะเห็ดฟางมาใส่ต้นมะละกอ เฉลี่ย 10 กิโลกรัมต่อต้น (วัสดุที่ใช้เพาะเห็ดฟาง ใช้กากมันสำปะหลังเป็นหลัก บางครั้งขาดแคลนก็ใช้กากฝ้าย ส่วนผสมในสูตร มีการใช้ปูนจากหอย ยิบซัมร่วมด้วย และมีส่วนผสมอื่นๆ อีก รวมแล้ว 13 ชนิด) แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ครั้งละ 1 กระสอบต่อพื้นที่ 2 ไร่ ใส่หลังการใส่วัสดุที่ใช้แล้วจากการเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และไม่มีการใช้สารอื่นๆ อีกเลย ไม่มีปัญหาการเข้าทำลายของโรคแต่อย่างใด แต่ช่วงนี้เป็นฤดูฝน พบต้นเป็นโรครากและโคนเน่า 2 ต้น จึงได้แนะนำให้ใช้เชื้อไตโคเดอร์มา หมักกับวัสดุที่ใช้แล้วจากการเพาะเห็ดฟางก่อนนำไปใช้ และในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามะละกอได้รับผลกระทบจากอากาศที่ร้อนทำให้ผลเปลี่ยนรูปร่างบ้าง แต่ไม่เป็นปัญหามาก เพราะผลผลิตสามารถขายได้ในตลาดท้องถิ่น

ส่วนในภาพที่ 3 เป็นภาพคุณบุญเจริญ เทียนป้อม เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ ปี 2550 ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ออกอากาศในรายการเดียวกัน ที่นำมาเสนอในครั้งนี้ เป็นเพราะอยากจะแสดงให้เห็นว่ามะละกอแขกดำศรีสะเกษ ถ้ามีการปลูกแบบอินทรีย์ ซึ่งเป็นการปลูกที่ไม่ใช้ปัจจัยการผลิตจากสารเคมีสังเคราะห์ รวมทั้งปุ๋ยเคมี ถ้ามีการบำรุงต้น และดูแลอย่างดี ก็สามารถแสดงศักยภาพการให้ผลผลิตได้เช่นกัน จะเห็นว่าคุณบุญเจริญปลูกพืชหลายชนิดในแปลงปลูก ที่เป็นหลักคือ กล้วยน้ำว้า ดินบริเวณที่ปลูกพืชนั้น เป็นดินที่ได้จากการขุดสระน้ำ นำมาถมให้ระดับพื้นที่แปลงสูงขึ้น