วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปลูกแตงร้านอินทรีย์


เกษตรอินทรีย์ เป็นแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เป็นการเกษตรที่สร้างสรรค์ให้ระบบนิเวศน์การเกษตร เกิดการผลิตที่ยั่งยืน ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่มีหลากหลายทางชีวภาพในระบบการเกษตร เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เป็นการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพืชอินทรีย์ เนื่องจากยังมีการใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอยู่ในอัตราที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น (สมคิด, 2548) แต่ก็พบว่าประเทศไทยมีปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ในปี 2537 ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของไทย มีปริมาณ 20,790 ตันและในปี 2546 ปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีปริมาณ 50,331 ตัน คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 142.1 เปอร์เซ็นต์ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2550) พบว่า ในระยะของการปรับเปลี่ยนสู่ระบบการผลิตอินทรีย์ ผลผลิตของพืชจะลดลง ดังนั้น การทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเขตกรรม โดยศึกษาจำนวนต้นและการจัดการต้นที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพการผลิตแตงร้านอินทรีย์ อันเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มผลผลิตของพืชได้ โดยทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ จากนั้นนำผลการทดลองที่มีประสิทธิภาพ ไปทดสอบในไร่เกษตรกรที่มีการผลิตพืชในระบบอินทรีย์ โดยใช้วิธีการผลิตแตงร้านอินทรีย์ของเกษตรกรเป็นวิธีการเปรียบเทียบ และจะได้นำเทคโนโลยีที่ได้รับไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้สนใจ ต่อไป

การผลิตแตงร้านอินทรีย์ โดยใช้เมล็ดพันธุ์แตงร้านลูกผสม ทำการทดลอง 2 ฤดูกาล คือ ในฤดูหนาวและฤดูฝน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2549 - กันยายน 2552 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี

ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2549 - 2550 ประกอบด้วยวิธีการต่างๆ ดังต่อไปนี้

วิธีที่ 1 คลุมแปลง + 3 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

วิธีที่ 2 คลุมแปลง + 2 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

วิธีที่ 3 คลุมแปลง + 1 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

วิธีที่ 4 คลุมแปลง + 3 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 5 คลุมแปลง + 2 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 6 คลุมแปลง + 1 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 7 ไม่คลุมแปลง + 3 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 8 ไม่คลุมแปลง + 2 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 9 ไม่คลุมแปลง + 1 ต้น/หลุม + ทำค้าง

วิธีที่ 10 ไม่คลุมแปลง + 3 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

วิธีที่ 11 ไม่คลุมแปลง + 2 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

วิธีที่ 12 ไม่คลุมแปลง + 1 ต้น/หลุม + ไม่ทำค้าง

ทำการทดลองที่ไร่เกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ปี 2551 2552 ประกอบด้วยวิธีการ ดังนี้

วิธีที่ 1 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.50 x 0.80 เมตร (ระยะต้น x ระยะแถว) ปลูก 3 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีแนะนำ

วิธีที่ 2 คลุมแปลง ระยะปลูก 0.50 x 0.75 เมตร ปลูก 2 ต้นต่อหลุม เป็นวิธีเปรียบเทียบ

การปลูก จะปลูกแถวคู่ แบบหยอดเมล็ดในแปลง และทำค้างทั้ง 2 วิธี

การเตรียมแปลงปลูก ใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ได้แก่

& ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 2 ตัน/ไร่ * พื้นที่แปลงขนาด 1x 10 เมตร ใช้ 12.5 กก.

& ปุ๋ยมูลค้างคาว อัตรา 100 กก./ไร่

& ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กก./ไร่

& หินภูเขาไฟ อัตรา 20 กก./ไร่

& เชื้อไตรโคเดอร์มา อัตรา 50 กรัม/หลุม

หลังปลูก 1 เดือน ใส่

& ปุ๋ยมูลไก่ไข่ อัตรา 1 ตัน/ไร่

การป้องกันกำจัดโรคและแมลง

- พ่นเชื้อบาซิลลัส ซับติลิส เพื่อป้องกันโรคทางใบ

- พ่นเชื้อบาซิลลัส ทูริงเยนซิส เมื่อพบการระบาดของหนอน

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงร้านอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

วิธี

ปี 2549

ปี 2550

ผลผลิตเฉลี่ย 2 ปี

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

ฤดูฝน

ฤดูหนาว

วิธี 1

6.15 bcd

2.27 bcd

8.35

8.41

7.25 cd

5.03

วิธี 2

5.72 cd

4.48 a

7.58

8.42

6.65 d

5.90

วิธี 3

7.38 a-d

1.99 cd

7.08

7.31

7.23 cd

4.65

วิธี 4

10.64 a

3.63 ab

9.09

9.22

9.87 a

6.43

วิธี 5

10.61 a

2.98 bc

7.92

9.15

9.27 ab

6.06

วิธี 6

9.75 abc

3.69 ab

8.01

7.46

8.88 abc

5.12

วิธี 7

9.95 ab

1.16 de

8.16

7.32

9.06 abc

4.24

วิธี 8

10.76 a

1.29 de

8.08

7.20

9.42 ab

4.25

วิธี 9

10.27 a

0.33 e

8.44

7.09

9.36 ab

3.76

วิธี 10

5.62 d

1.27 de

6.47

7.82

6.04 d

4.55

วิธี 11

7.67 a-d

1.28 de

7.69

7.69

7.68 bcd

4.65

วิธี 12

5.99 bcd

1.29 de

7.31

6.23

6.65 d

3.82

เฉลี่ย

8.38

2.14

7.85

7.78

9.28

4.87

F test

*

**

ns

ns

**

ns

CV %

25.4

36.3

18.4

19.3

14.9

21.4

ตัวอักษรที่แตกต่างกันในแต่ละคอลัมน์ แสดงความแตกต่างทางสถิติ โดยวิธี Duncan’s multiple range test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงร้านอินทรีย์ในฤดูหนาวที่ไร่เกษตรกร

ผลการทดลอง

ปี 2551

ปี 2552

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

ความกว้างของผล(ซม.)

3.98

3.83

4.06

4.05

ความยาวของผล(ซม.)

17.87

17.49

15.83

15.63

น้ำหนักของผล(กรัม)

193.72

188.21

169.52

160.86

น้ำหนักผลผลิต(ตัน/ไร่)

8.86

7.91

7.97

7.91

น้ำหนักผลที่ตกเกรด(ตัน)

3.14

2.69

0.78

0.87

น้ำหนักผลที่ได้มาตรฐาน(ตัน)

5.71

5.21

7.19

7.05

ตารางแสดงผลผลิต (ตัน/ไร่) แตงร้านอินทรีย์ในฤดูฝนที่ไร่เกษตรกร

ผลการทดลอง

ปี 2551

ปี 2552

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

วิธี

แนะนำ

วิธี

เกษตรกร

ความกว้างของผล(ซม.)

4.05

3.98

3.96

3.93

ความยาวของผล(ซม.)

17.1

17.25

17.08

17.09

น้ำหนักของผล(กรัม)

197.63

197.5

186.33

181.27

น้ำหนักผลผลิต(ตัน/ไร่)

12.33

9.56

9.4

9.26

น้ำหนักผลที่ตกเกรด(ตัน)

0.76

0.53

0.88

0.85

น้ำหนักผลที่ได้มาตรฐาน(ตัน)

11.57

9.03

8.51

8.4

สรุปผลการทดลองการปลูกแตงร้านอินทรีย์

การคลุมแปลงด้วยฟางข้าว ทุกช่วงฤดูกาลผลิตจะทำให้ผลผลิตแตงร้านสูงกว่าการไม่คลุมแปลง ส่วนการคลุมแปลงในฤดูฝน ไม่มีผลต่อผลผลิต ดังนั้นในช่วงฤดูฝนการปลูกแตงร้านอินทรีย์ไม่มีความจำเป็นต้องคลุมแปลงปลูก นอกจากนี้เกษตรกรสามารถพิจารณาเลือกใช้ วัสดุคลุมแปลงที่เหมาะสมอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นและราคาถูกมาใช้ให้เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิต

จำนวนต้นต่อหลุม การปลูก 3 ต้นต่อหลุม ให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูก 1-2 ต้นต่อหลุม แต่ในช่วงฤดูฝน จำนวนต้นต่อหลุมไม่มีผลต่อผลผลิต ดังนั้นในช่วงฤดูฝนการปลูกแตงร้านอินทรีย์ สามารถลดจำนวนต้นต่อหลุมลง เพื่อลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์

การทำค้าง มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าการไม่ทำค้าง และในฤดูหนาว เมื่อมีการคลุมแปลงแล้ว สามารถปลูกแตงร้านอินทรีย์โดยไม่มีการทำค้างได้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต

การผลิตแตงร้านอินทรีย์ในไร่เกษตรกร โดยใช้ระยะปลูก 0.50 x 0.80 เมตร และปลูก 3 ต้นต่อหลุม มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูก 2 ต้นต่อหลุม ให้รายได้และผลตอบแทนต่อปีสูงที่สุด การผลิตแตงร้านอินทรีย์ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น มีปริมาณอินทรียวัตถุในดิน ปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไนโตรเจน เปอร์เซ็นต์โพแทสเซียมในรูปที่เป็นประโยชน์ และเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์เพิ่มขึ้น

ศึกษาการผลิตแตงร้านอินทรีย์ : กรณีศึกษาที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ลงเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202010/J.%20CRDC4/CRDC%204/PDF/365-368.pdf

ศึกษาการผลิตแตงร้านอินทรีย์ : กรณีศึกษาที่แปลงเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ลงเผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์เกษตร http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202010/J.%20CRDC4/CRDC%204/PDF/361-364.pdf

จิรภา ออสติน

นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ผู้เขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น