ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูยอดสน และจะได้มีการรับรองพันธุ์พริกพันธุ์ใหม่ แต่ยังขาดเทคโนโลยีบางส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรที่จะนำพันธุ์ไปใช้ เช่น ระยะปลูกที่เหมาะสม อัตราปุ๋ย และผลต่อเนื่องด้านโรคแมลงเมื่อการจัดการแตกต่างไป เกษตรกรที่ปลูกพริกเป็นการค้าในแหล่งปลูก จะใช้ระยะปลูก และจำนวนต้นต่อหลุมที่ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีแตกต่างจากคำแนะนำในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร วัตถุประสงค์ของการทดลองนี้ เพื่อศึกษาระยะปลูกและวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและเหมาะสม สำหรับพริกยอดสนพันธุ์ใหม่ที่จะออกเผยแพร่ ว่าจะสามารถแสดงศักยภาพในการให้ผลผลิตเต็มที่เพียงใด เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกพริกพันธุ์ใหม่เพื่อปลูกในพื้นที่ของเกษตรกรต่อไป
วิธีการทดลอง
ปลูกพืช 3 แบบ คือ
1.ปลูกแบบแถวคู่ ระยะปลูก 40 x 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวคู่ 100 เซนติเมตร
2.ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะปลูก ระยะปลูก 40 X 40 เซนติเมตร ปลูก 4 แถวต่อแปลง
3.ปลูกแบบแถวเดี่ยว ระยะปลูก ระยะปลูก 50 x 100 เซนติเมตร เป็นวิธีเปรียบเทียบ
ใส่ปุ๋ย 3 วิธี คือ
1.ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ (ตามเอกสาร การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร: ปี 2551 :53 หน้า)
2.ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ทุก 20 วัน
3.ใส่สูตร 15-15-15 อัตราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำคือ 100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ละ 50 กิโลกรัม หลังย้ายปลูก และก่อนออกดอก
การใส่ปุ๋ย
ตำรับที่ 1 การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน อัตราตามคำแนะนำการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินของพริก คือ ปริมาณอินทรียวัตถุ (OM) น้อยกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ อัตราการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เท่ากับ 24 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัสในดิน มากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม การใส่อัตราปุ๋ยฟอสฟอรัส (P2O5) เท่ากับ 4 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณโพแทสเซียมในดิน น้อยกว่า 60 การใส่อัตราปุ๋ยโพแทสเซียม (K2O) เท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อไร่ (N- P2O5- K2O = 24-4-16 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ปุ๋ยฟอสฟอรัส (P2O5) โดยการใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 18-46-0 เท่ากับ 8.7 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งได้ ปุ๋ยไนโตรเจน (N) เท่ากับ 1.57 กิโลกรัมต่อไร่ ต้องการไนโตรเจน (N) เพิ่ม เท่ากับ 22.43 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย อีก เท่ากับ 48.76 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ปุ๋ยโพแทสเซียม (K2O) โดยใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 0-46-0 เท่ากับ 26.67 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ โรยข้างแถว ครั้งแรก ใส่หลังย้ายปลูก 7 วัน และหลังจากใส่ครั้งแรก 30 วัน ปรับความเป็นกรดของดินโดยใช้ปูนโดโลไมท์ อัตรา 400 กิโลกรัมต่อไร่ (ชุมพล และคณะ, 2551)
ตำรับที่ 2 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ครั้งแรก ใส่รองก้นหลุม ครั้งที่สองเมื่อพริกเริ่มออกดอก หรือหลังย้ายปลูกประมาณ 30 วัน โดยโรยข้างแถว หลังจากนั้น ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกๆ เดือน หรือประมาณ 4-5 ครั้ง ปรับความเป็นกรดของดินโดยใช้ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ (อุดมและคณะ, 2550)
ตำรับที่ 3 การใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราที่กรมแนะนำคือ 100 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้งๆ ละ 50 กิโลกรัม โรยข้างแถว ครั้งแรกใส่หลังย้ายปลูก 7 วัน และ ครั้งที่ 2 ใส่เมื่อเริ่มออกดอก หรือหลังย้ายปลูกประมาณ 30 วัน ปรับความเป็นกรดของดินโดยใช้ปูนโดโลไมท์ อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ (ตามคำแนะนำในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก (GAP) ของกรมวิชาการเกษตร)
สรุปผลการทดลอง
การปลูกแบบแถวคู่ ระยะปลูก 40 x 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถวคู่ 1 เมตร และใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำในระบบเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก มีความเหมาะสมที่สุดในการปลูกพริกยอดสนศก.119-1-3 มีค่า BCR สูงสุด เท่ากับ 2.56 ซึ่งให้กำไรสูงสุด มีความสะดวกต่อการกำจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิต
ตารางที่ 1 องค์ประกอบผลผลิตพริกยอดสน
ระยะปลูก | ตำรับปุ๋ย | ผลกว้าง (ซม.) | ผลยาว (ซม.) | ก้านยาว (ซม.) | น้ำหนักสด ต่อผล (กรัม) | น้ำหนักแห้ง ต่อผล (กรัม) | น้ำหนักแห้ง(%) | เมล็ดต่อผล(เมล็ด) |
40 x 50 ซม. ระยะระหว่างแถวคู่ 100 ซม. | 1 | 0.67 | 5.86 | 3.49 | 1.53 | 0.48 | 31.33 | 52.97 |
2 | 0.68 | 5.88 | 3.12 | 1.58 | 0.50 | 32.38 | 52.82 | |
3 | 0.70 | 6.07 | 3.19 | 1.59 | 0.49 | 30.86 | 50.10 | |
40 x 40 ซม. ปลูก 4 แถวต่อแปลง | 1 | 0.67 | 6.12 | 3.08 | 1.55 | 0.47 | 30.27 | 51.11 |
2 | 0.68 | 5.99 | 2.96 | 1.50 | 0.47 | 31.27 | 50.79 | |
3 | 0.67 | 5.97 | 3.15 | 1.54 | 0.49 | 31.67 | 51.76 | |
50 x 100 ซม. ปลูกแถวเดี่ยว | 1 | 0.67 | 6.07 | 3.24 | 1.55 | 0.50 | 31.76 | 53.04 |
2 | 0.67 | 5.92 | 3.19 | 1.54 | 0.49 | 31.82 | 53.25 | |
3 | 0.67 | 5.86 | 3.16 | 1.48 | 0.48 | 32.71 | 51.55 | |
CV (%) | 2.91 | 2.76 | 8.18 | 3.33 | 5.90 | 6.29 | 5.14 |
ตารางที่ 2 การเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตพริกยอดสน
ระยะปลูก | จำนวนกิ่งแขนง (กิ่ง) | ทรงพุ่ม (ซม.) | ความสูง (ซม.) | น้ำหนัก เมล็ดต่อผล (กรัม) | จำนวนผล ต่อต้น (ผล) | ผลผลิต สดต่อต้น(กรัม) | ผลผลิตสด ต่อไร่ (ตัน) | ผลผลิตแห้งต่อไร่ (ตัน) | ผลดี (%) | ผลเสีย (%) |
40 x 50 ซม. | 13.07 b | 82.28 b | 97.82 | 0.228 a | 347.09 b | 385.61 b | 1.51 | 0.50 | 94.92 a | 5.07 b |
40 x 40 ซม. | 12.18 c | 80.45 b | 97.92 | 0.216 b | 241.14 c | 274.65 c | 1.57 | 0.49 | 93.77 b | 6.23 a |
50 x 100 ซม. | 13.95 a | 88.79 a | 96.10 | 0.219 ab | 446.21 a | 466.54 a | 1.43 | 0.46 | 94.89 a | 5.10 b |
ค่าความแตกต่าง | ** | ** | ns | * | ** | ** | ns | ns | * | * |
ตำรับปุ๋ย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตำรับที่ 1 | 13.10 | 84.93 a | 97.65 a | 0.221 | 358.77 a | 387.86 | 1.54 a | 0.48 ab | 94.87 | 5.11 |
ตำรับที่ 2 | 12.95 | 81.15 b | 94.22 b | 0.222 | 316.91 b | 356.41 | 1.39 b | 0.44 b | 94.75 | 5.25 |
ตำรับที่ 3 | 13.15 | 85.45 a | 99.97 a | 0.220 | 358.76 a | 382.54 | 1.58 a | 0.53 a | 93.96 | 6.04 |
ค่าความแตกต่าง | ns | ** | ** | ns | * | ns | * | * | ns | ns |
CV (%) | 5.96 | 3.90 | 3.45 | 4.91 | 11.36 | 13.62 | 12.12 | 18.77 | 1.26 | 21.76 |
ตารางที่ 3 ผลตอบแทนการผลิตพริกยอดสน
ต้นทุนการผลิต | ระยะปลูก 40 x 50 (ซม.) | ระยะปลูก 40 X 40 (ซม.) | ระยะปลูก 50x100 (ซม.) | ||||||
ตำรับ ปุ๋ย 1 | ตำรับ ปุ๋ย 2 | ตำรับ ปุ๋ย 3 | ตำรับ ปุ๋ย 1 | ตำรับ ปุ๋ย 2 | ตำรับ ปุ๋ย 3 | ตำรับ ปุ๋ย 1 | ตำรับ ปุ๋ย 2 | ตำรับ ปุ๋ย 3 | |
1. ผลผลิตพริกแห้ง (กิโลกรัมต่อไร่) | 495 | 450 | 550 | 468 | 435 | 570 | 478 | 438 | 463 |
2. ต้นทุนผันแปร (บาท/ไร่) | 16,616 | 19,967 | 17,183 | 17,958 | 21,489 | 19,230 | 15,468 | 18,894 | 14,985 |
3. ต้นทุน (บาท/กก.) | 34 | 44 | 31 | 38 | 49 | 34 | 32 | 43 | 32 |
4. ราคาขาย (บาท/กก.) | 80 | 80 | 80 | 80 | 80 | 80 | 80 | 80 | 80 |
5. รายได้ (บาท/ไร่) | 39,600 | 36,000 | 44,000 | 37,440 | 34,800 | 45,600 | 38,240 | 35,040 | 37,040 |
6. ผลตอบแทน (บาท/ไร่) | 22,984 | 16,033 | 26,817 | 19,482 | 13,311 | 26,370 | 22,772 | 16,146 | 22,055 |
7. ค่า BCR อัตราส่วนของรายได้/การลงทุน | 2.38 | 1.80 | 2.56 | 2.08 | 1.62 | 2.37 | 2.47 | 1.85 | 2.47 |
Benefit Cost Ratio : BCR หมายถึง อัตราส่วนของรายได้ต่อค่าใช้จ่ายการลงทุน
BCR < 1 หมายถึง รายได้น้อยกว่ารายจ่าย กิจกรรมที่ดำเนินการนั้นขาดทุนไม่ควรทำการผลิต
BCR = 1 หมายถึง รายได้เท่ากับรายจ่าย กิจกรรมที่ดำเนินการนั้นไม่มีกำไรและไม่ขาดทุน มีความเสี่ยงในการผลิต
ไม่สมควรทำการผลิต
BCR > 1 หมายถึง รายได้มากกว่ารายจ่าย กิจกรรมที่ดำเนินการนั้นมีกำไร มีความเสี่ยงน้อย สามารถทำการผลิตได้
ผู้ดำเนินการทดลอง จิรภา ออสติน และเสาวนี เขตสกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น