การขายพลูคาวที่ตลาดสดในประเทศจีน
ส่วนของก้านใบ และ ลำต้น มัดขายเพื่อใช้ประกอบอาหาร
ทำเป็นอาหารคล้ายยำ ใส่พริกรสจัด และถั่วปากอ้าสดลวก กินที่ เมืองเฉินตู มณฑลเสฉวน
ใบพลูคาวที่กำลังเปลี่ยนสีในช่วงหน้าหนาว ที่เจจู เกาหลีใต้
พลูคาว
ช่วงปี 2554 ได้มีโอกาสไปดูงานที่ประเทศจีน2 ครั้ง
ได้กินอาหารที่ใช้ใบ และส่วนลำต้นของพลูคาว มายำรวมกับถั่วปากอ้าสดลวก ที่มณฑลเสฉวน
กินอาหารรสจัด ทั้งมีพริกเป็นส่วนประกอบ และพริกสดเขียวย่างเป็นจานๆ ให้กิน โดยส่วนตัวแล้วรู้จักพลูคาวมาตั้งแต่เด็ก
ที่บ้านเกิดจังหวัดหนองคาย ปลูกเป็นผักสวนครัว แต่ไม่เคยเห็นขายพลูคาวเป็นผักสดในตลาด
ส่วนที่ประเทศเกาหลี เห็นขึ้นใน ม.เจจู เป็นวัชพืช และที่ปลูกในกระถางในเรือนทดลอง
เพื่อนชาวเกาหลีเค้าบอกว่า ที่บ้านเกิดเค้ากินเป็นผัก และก็เห็นขายในตลาดสมุนไพร
โดยตัดตันยาวเป็นฟุตใส่ถุงพลาสติกขาย
พลูคาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Houttuynia cordata Thunb. จัดอยู่ในวงศ์ (family) Saururaceae เป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกอายุหลายปี พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชียตั้งแต่แถบเทือกเขาหิมาลัยไปจนถึงเวียดนาม
รวมทั้งไทยและญี่ปุ่น พลูคาวจะเป็นพันธุ์ไม้ที่รู้จักกันดีของทางภาคเหนือของไทย เนื่องจากลักษณะต้นที่มีกลิ่นคาวจึงมีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่าผักคาวตอง
นิยมนำมารับประทานเป็นผักจิ้มปลาร้าและลาบ สำหรับทางภาคกลางไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนัก
พลูคาวมีชื่อที่เรียกตามท้องถิ่นต่างๆ คือ ภาคเหนือ เช่น ผักเข้าตอง ผักคาวตอง หรือ
ผักก้านตอง (แม่ฮ่องสอน) และผักคาวปลา เป็นต้น ภาคกลาง มีชื่อเรียก เช่น ผักคาวทอง
และ พลูคาว เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุกที่มีขนาดเล็ก ลำต้นสีเขียว สูงประมาณ 15 – 20 ซม. ส่วนโคนที่แตะดินจะมีรากงอกออกมาตามข้อของลำต้น ออกใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามข้อต้น
ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ปลายแหลม โคนใบเว้าขอบใบเรียบมีสีเขียว ท้องใบจะมีลายเส้นสีม่วงอ่อน
ๆ ขนาดของใบ กว้างประมาณ 3.75 - 6.25 ซม. ยาว 3.75 - 7.50 ซม. ก้านใบยาว 1.25 - 3.75
ซม. ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้นประกอบด้วยดอกเล็กๆจำนวนมากติดกันแน่นเป็นแท่งทรงกระบอกยาวประมาณ
1 นิ้ว มีสีขาวออกเหลือง และในแต่ละข้อช่อนั้นจะมีกลีบรองดอกสีขาวอยู่ 4 กลีบ แต่ละกลีบยาว
1 นิ้ว ปลายกลีบมน เมื่อดอกแก่หรือร่วงโรยไปก็จะกลายเป็นผล ซึ่งจะมีลักษณะกลมรี ปลายผลแยกออกเป็น
3 แฉก รวมตัวเรียงกันแน่นยาวเป็นรูปทรงกระบอก เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้งที่ชอบขึ้นในดินที่ชื้นแฉะหรือริมน้ำทั่วไปสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นและปักชำ
สรรพคุณในตำรับยาไทย
ต้น: ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ
ฝีหนองในปอด ปอดบวม ปอดอักเสบ ไข้มาลาเรีย แก้บิด ขับปัสสาวะ ลดอาการบวมน้ำ นิ่ว ขับระดูขาว
ริดสีดวงทวาร แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ฝีฝักบัว แผลเปื่อย ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แก้ไอ
หลอดลมอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ
ราก: ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใบใช้ แก้โรคบิด
โรคผิวหนัง โรคหัด ริดสีดวงทวาร หนองใน
ใบ: ใช้รักษาโรคบิด หัด โรคผิวหนัง ริดสีดวงทวาร
หนองใน ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค ทำให้แผลแห้งเร็ว แก้โรคข้อและแก้โรคผิวหนังทุกชนิดทั้งต้นมีรสเย็นและฉุน
ใช้เป็นยาแก้โรคบิด โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไอ หลอดลมอักเสบ
ฝีบวมอักเสบ ริดสีดวงทวาร หูชั้นกลางอักเสบ
ที่มา
http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2003/12/03.php