วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษ

ผลงานการผลิตเมล็ดพันธุ์มะละกอแขกดำศรีสะเกษและการนำไปใช้ประโยชน์ ของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ
http://it.doa.go.th/refs/files/549_2551.pdf?PHPSESSID=962b3daad5a2663f92abb5d1e2b9ab8e

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มะเขือเปราะ 3 สายพันธุ์

มะเขือเปราะพิจิตร เป็นมะเขือเปราะเจ้าพระยาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชสวนพิจิตร(เดิม) มีลักษณะผลกลม สีขาว มีลายสีเขียว
มะเขือเปราะคางกบ 1 มีลักษณะผลกลม สีเขียว ลายขาว
มะเขือเปราะคางกบ 2 มีลักษณะผลรูปหยดน้ำ สีเขียว ลายขาว
มะเขือเปราะคางกบ 1 และ 2 รวบรวมและคัดพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ทั้ง 3 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์แท้ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์เองได้ ราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร เมล็ดพันธุ์ 100 กรัม เพียง 30 บาทเท่านั้น
สั่งซื้อได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ โทร 0-4581-4581

การปลูกมะเขือเปราะ
http://as.doa.go.th/hort/database/framehom_files/vegetable/makepro.htm

ถั่วฝักยาว น่าน 1

ถั่วฝักยาว น่าน 1

ลักษณะทางการเกษตร

ฝักสีม่วงแดง รสชาติหวานมัน กรอบ เนื้อแน่น ฝักเรียบตรง ปลายฝักมน ฝักกว้าง 0.72 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 50 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว หลังจากงอก 42 วัน เก็บฝักสดหลังดอกบาน 8 วัน ช่วงเก็บเกี่ยวราว 1
เดือน
ผลผลิต ในฤดูฝน 1.66 ตัน/ไร่ ฤดูหนาว 3.29 ตัน/ไร่


รายงานการปรับปรุงพันธุ์ถั่วฝักยาว น่าน 1

http://it.doa.go.th/journal/php/detail.php?id=11

ถั่วฝักยาว พิจิตร 2

ถั่วฝักยาว พิจิตร 2
ลักษณะทางการเกษตร

ฝักสดสีเขียว ผิวเรียบ ฝักกว้าง 0.6 เซนติเมตร ยาว 45 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว หลังเมล็ดงอก 46 วัน เก็บฝักสดหลังดอกบาน 8 วัน
ผลผลิต ในฤดูฝน 3.07 ตัน/ไร่ ฤดูร้อน 4.03 ตัน/ไร่ ฤดูหนาว 2.16 ตัน/ไร่

การปลูกถั่วฝักยาว
http://as.doa.go.th/hort/database/framehom_files/vegetable/yardlongbean.htm

มะเขือเทศ ศก. 19

มะเขือเทศ ศก.19
ลักษณะทางการเกษตร

ปลูกฤดูฝน ผลกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 3.5 เซนติเมตร ฤดูหนาว ผลกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 4.7 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว 55-60 วันหลังปลูก ให้ผลเร็ว ปลูกได้ดีในฤดูฝน
ผลผลิต ในฤดูฝน 1.4 ตัน/ไร่ ฤดูหนาว 4.7 ตัน/ไร่

การปลูกมะเขือเทศ
http://as.doa.go.th/hort/database/framehom_files/vegetable/tomato.htm

มะเขือเทศ ศก. 1

มะเขือเทศ ศก.1

ลักษณะทางการเกษตร

ผลกว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 4.3 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายลูกแพร์ สีก่อนสุกสีขาวอมชมพู เมื่อสุกสีชมพูแดง เปลือกผลหนา เก็บไว้ได้นาน ทนต่อการขนส่ง

การเก็บเกี่ยว 55 - 60 วันหลังปลูก ให้ผลเร็ว ปลูกได้ดีในฤดูฝน ผลผลิต 2-3 ตัน/ไร่

พริกหัวเรือ ศก.25

พริกหัวเรือ ศก.25

ลักษณะทางการเกษตร

ผลยาว 7.0 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.95 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.69 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 484.2 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 252 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 530.2 กรัม/ต้น

พริกหัวเรือ ศก.13

พริกหัวเรือ ศก.13
ลักษณะทางการเกษตร

ผลยาว 7.8 เซนติเมตร ผลกว้าง 1.03 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 - 90 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยว ผลสุก 90 วันหลังปลูก ผลสด 1.74 ตัน/ไร่ ผลแห้ง 476.9 กิโลกรัม/ไร่ จำนวนผล 241 ผล/ต้น น้ำหนักผลสด 545.1 กรัม/ต้น

ผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พริกหัวเรือ
http://it.doa.go.th/libr/images/Downloads/2550/EB00214.pdf

พริกห้วยสีทน ศก.1

พริกห้วยสีทน ศก.1

ลักษณะทางการเกษตร

ผลสุกสีแดงเข้ม พริกแห้งผิวเรียบมัน ผลยาว 4.4 เซนติเมตร ผลกว้าง 0.70 เซนติเมตร ความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง 70-80 เซนติเมตร

การเก็บเกี่ยว ผลสุก อายุ 120 วันหลังปลูก ผลผลิต 1.0 - 1.5 ตัน/ไร่ ผลสด 1 กิโลกรัม ตากเป็นพริกแห้ง 0.43 กิโลกรัม


เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับการผลิตพริก

http://as.doa.go.th/plant/gap/gap_Chilli_1.html

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มะม่วงหิมพานต์ ศก.60-1, ศก.60-2

มะม่วงหิมพานต์ ศก.60-1, ศก.60-2

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ดี ให้ผลผลิตสูง ติดผลทุกปี ขนาดเมล็ดใหญ่ คุณภาพเมล็ดได้มาตรฐานเนื้อใน เมล็ดดีหรือเมล็ดจมน้ำมากกว่า 75 เมล็ดในหนึ่งร้อยเมล็ด เมล็ดดิบ 4 กก. กะเทาะได้เมล็ดเนื้อในอย่างน้อย 1 กก.และมีลักษณะอื่นๆ ดี เช่น เป็นพันธุ์เบา ต้านทานต่อโรคแมลง มีลักษณะทรงพุ่มดี จึงได้พันธุ์ศรีสะเกษ 60-1 และ ศรีสะเกษ 60-2 เป็นพันธุ์รับรอง และพันธุ์ลูกผสมรวม ศรีสะเกษ -A (SK-A)เป็นพันธุ์แนะนำ

มะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007

มะม่วงแก้วศรีสะเกษ 007

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้ทำการคัดเลือกพันธุ์มะม่วงแก้ว และกรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2537

ลักษณะทางการเกษตร

- ต้านทานต่อโรคแอนแทรคโนสได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์น้ำดอกไม้ที่อ่อนแอต่อโรคนี้

- ผลผลิตสูงเฉลี่ย 65.4 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 7-8 ปี สูงกว่าพันธุ์อื่น 60 เปอร์เซ็นต์

- น้ำหนักผล 252 กรัม มีเนื้อ 81 เปอร์เซ็นต์

- ติดผลดก ผลใหญ่มีเนื้อมาก เปลือกหนาเนื้อแน่นแข็ง เหมาะสำหรับรับประทานสด สุกและแปรรูป

มะขามเปรี้ยว ศก. 019

มะขามเปรี้ยว ศก.019

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ได้คัดเลือกพันธุ์มะขามเปรี้ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.25292535 ได้รับการพิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2537

ลักษณะทางการเกษตร

- เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 2 ปี หลังเปลี่ยนยอด
- ผลผลิตเฉลี่ย เท่ากับ 25.6 กิโลกรัม/ต้น/ปี ฝักใหญ่ตรง มี 51 ฝัก/กิโลกรัม
- มีเนื้อ 46 เปอร์เซ็นต์ มีกรดทาร์ทาริก สูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ เนื้อมีสีน้ำตาลเข้ม
เหมาะสำหรับแปรรูปและการบริโภค

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ

มะละกอแขกดำศรีสะเกษ
ลักษณะทางการเกษตร

ทนทานโรคใบจุดวงแหวนได้ดีปานกลาง
การเก็บเกี่ยว
ผลดิบ อายุ 3-4 เดือน หลังดอกบาน เนื้อผลกรอบเหมาะทำส้มตำ
ผลสุก อายุ 5-6 เดือน หลังดอกบาน
ความหวาน 13.5 องศาบริกซ์ ผลดก ติดผลไว
เหมาะกินสุก และแปรรูปบรรจุกระป๋อง
ผลผลิต 52.2 กก./ต้น/ปี น้ำหนักผล 1.28 กก.

ผลงานการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ผ่านมาของศวส.ศก.

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ มีผลงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสวนชนิดต่าง ๆ รวม 10 พันธุ์ ได้นำผลงานวิจัยด้านพันธุ์ที่ได้นี้ ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์หลัก เพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์ที่ผลิต ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่อยู่ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร เพื่อทำพันธุ์ขยาย สำหรับจำหน่าย จ่ายแจกให้กับเกษตรกร เอกชน หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ ตลอดมา

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนะนำสถานที่ทำงาน

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ตั้งอยู่ที่ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัด 5 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 550 กิโลเมตร มีหน้าที่ ศึกษา วิจัย และพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาการผลิตพืชสวนเศรษฐกิจ ได้แก่ พริก มะละกอ มะม่วงอุตสาหกรรม องุ่น มะขามเปรี้ยว มะม่วงหิมพานต์ กล้วยไม้ดิน บัว เบญจมาศ มะลิ และสมุนไพร โดยเน้นการด่าเนินงานวิจัยแบบสหสาขาวิชา ได้แก่ สาขาพืชศาสตร์ วิทยาการเมล็ดพันธุ์ ปรับปรุงการผลิต วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และอารักขาพืช
ผลงานที่ผ่านมา
1.วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชสวนชนิดต่าง ๆ รวม 10 พันธุ์
2.วิจัยเพื่อแก้ปัญหาการปลูกพืชสวนในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ เช่น เทคโนโลยีการผลิตมะลิลา การปรับปรุงพันธุ์มะละกอ พริก และมะเขือเทศ เป็นต้น
3.ผลิตไม้ผล และพืชผักพันธุ์ดี เพื่อจ่าหน่าย จ่ายแจกแก่ผู้สนใจ